วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2553

ข้อเสนอเพิ่มเติม

รูปแสดงมลพิษที่เกิดจากภาชนะบรรจุ
ขอนำเสนอเพิ่มเติมในแนวทางเลือกการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมของข้าพเจ้า
ข้อเสนอในแนวทางเลือกที่ 1
ภาครัฐ ควรจะเริ่มการดำเนินการออกกฎหมาย เพื่อจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมจากผู้ก่อปัญหามลพิษด้านต่างๆ ทั้งผู้ก่อให้เกิดปัญหาน้ำเสีย หรือมลพิษทางอากาศ มลพิษจากขยะภาชนะบรรจุต่างๆ รวมถึงซากรถยนต์ โดยกฎหมายควรจะมุ่งรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วย ลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ไม่มุ่งเน้นด้านรายได้ ให้เกี่ยวข้องกับสุขภาพของคนทั้งประเทศ ส่วนข้อกำหนดในกฎหมาย ควรจะมีคณะกรรมการกำกับนโยบายที่มาจากภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานและวิธีการคืนหรือชดเชยที่ชัดเจนของมลพิษแต่ละประเภท รวมทั้งใช้เป็นเครื่องมือจัดการด้านสิ่งแวดล้อม และควรมีกองทุนและแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุน มีการแบ่งรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้มีงบหรือทรัพยากรอย่างเพียงพอในการจัดการกับปัญหามลพิษต่างๆ ตัวอย่างการแบ่งรายได้ เช่น แบ่งรายได้จากภาษีให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประมาณ 70% และจัดเก็บเข้ากองทุน ประมาณ 25 % เพื่อลดมลพิษหรือส่งเสริมสิ่งแวดล้อม จะแบ่งให้หน่วยงานเก็บภาษีในสัดส่วน 5% ของได้ภาษี เป็นต้น
ข้อเสนอในแนวทางเลือกที่ 2
แนวคิดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมจากแหล่งกำเนิดหรือวัตถุดิบที่ใช้เป็นต้นกำเนิดสินค้า (Goods Input) ตัวอย่างเช่น การผู้ใช้น้ำประปาในขบวนการผลิต หรือใช้ไฟฟ้าเพื่อผลิตสินค้า ส่วนสินค้าที่ผลิตออกมาเมื่อใช้แล้ววัสดุที่เหลือใช้เกิดผลกระทบสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม วิธีการให้ภาครัฐต้องกำหนดก่อนว่าสินค้าประเภทใดบ้างมีผลกระทบหรือสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จากนั้นกำหนดเกณฑ์การใช้วัตถุดิบ เช่น โรงงานได้ใช้น้ำประปาเกิน 5,000 หน่วยต่อเดือน หรือโรงงานใช้ไฟฟ้าเกิน 5,000 หน่วยต่อเดือน ส่วนที่เกินเก็บภาษีในอัตราหน่วยละตามเกณฑ์ที่ภาครัฐกำหนด เพิ่มในใบเสร็จใช้น้ำประปาหรือ ใช้ไฟฟ้า เช่น ใช้ไฟฟ้า 7,000 หน่วยต่อเดือน 5,000 หน่วยไม่เสีย ส่วน 2,00 หน่วย เสียภาษี 2,000 บาทต่อเดือน (หน่วยละ 1 บาท) เป็นต้น
ข้อเสนอในแนวทางเลือกที่ 3
แนวคิดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมจากสินค้าที่ผลิตออกมาเมื่อใช้แล้ววัสดุที่เหลือใช้เกิดผลกระทบสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม (Goods Output) วิธีการ คือ ให้ภาครัฐต้องกำหนดก่อนว่าสินค้าประเภทใดบ้างมีผลกระทบหรือสร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จากนั้นกำหนดการเก็บภาษี สินค้าชนิดนั้นเพิ่มขึ้นในภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเก็บภาษีในอัตราเพิ่มขึ้นในภาษีมูลค่าเพิ่มตามเกณฑ์ที่ภาครัฐกำหนด เพิ่มในใบเสร็จขายสินค้าและบวกไว้ในภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น บวกในภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7% + 1%) = 8 %

กรณีมีปัญหาอุปสรรคเมื่อจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม
1. ปัญหาการเก็บภาษีซ้ำซ้อน และแนวทางแก้ไข ต้องชี้แจงให้ประชาชนและผู้ประกอบการทราบว่าเป็นภาษีเพื่อสิ่งแวดล้อมม่มุ่งรายได้จากภาษีแต่มุ่งที่การป้องกัน รักษา ส่งเสริม และบรรเทาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก
.2. ปัญหาการต่อต้านการเก็บภาษี และแนวทางแก้ไข
1. ขยายเวลาการเริ่มจัดเก็บภาษีออกไป 1-2 ปี
2. มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุกอย่างต่อเนื่อง
ทั้งปัญหาของมลพิษ การส่งเสริม การเยียวยาผลกระทบให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียเข้าใจ
3. มีหน่วยงานเจ้าภาพที่ชัดเจนหรือหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญ มาศึกษาและหาวิธีการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมเป็นการเฉพาะกิจ
สรุป
ข้อเสนอสำหรับการปรับปรุงกฎหมายเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยการใช้มาตรวัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมน้น ถือเป็นการนำนวัตกรรมที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้แต่มีข้อจัดกัดเนื่องจากมาตรวัดออนไลน์มีใช้เฉพาะเก็บภาษีเบียร์เท่านั้น ซึ่งเป็นการนำเสนอทางเลือกหนึ่งให้สังคมรับรู้และคิดสร้างสรรค์เพิ่มเติมในอนาคตได้

ส่วนข้อเสนอที่ 2 และ 3 ใช้เป็นแนวคิดประกอบการติดสินใจในอนาคตต่อไป
กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบพระคุณ กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ที่ให้ความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเบียร์ รวมถึงได้ให้ข้อมูลระบบมาตรวัดเบียร์ออนไลน์

วันเสาร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2553







กระผมและเพื่อนๆ ได้นำบทความไปนำเสนอในเวที วิชาการที่จังหวัดอุบล

มีรูปอื่นๆมาฝากด้วยครับ

วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวคิดการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม

แนวคิดการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมของกรมสรรพสามิตในบทบาทส่งเสริมสิ่งแวดล้อม
(Taxation for Environments by Excise Department
Role Promoting the Environments)

บทนำ
ภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องที่ทุกคนทั่วโลกและคนไทยให้ความสนใจ เนื่องจากปรากฏการณ์ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศของโลกรวมทั้งของประเทศไทยได้ด้วย ซึ่งผู้นำในหลายประเทศได้เริ่มที่จะร่วมมือกันในการป้องกันการทำลายสภาพแวดล้อมและภาวะโลกร้อน เพื่อที่จะหยุดกระบวนการที่เป็นเหตุแห่งการเกิดความหายนะมาสู่มวลมนุษยชาติ วันนี้คนไทยพร้อมที่จะเข้ามารับผิดชอบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกหรือยัง สำหรับเหตุเกิดของประเทศไทยคือ ทั้งในภาคครัวเรือน ภาคโรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการอื่น ๆ ได้ปล่อยน้ำเสีย อากาศเสีย หรือขยะในครัวเรือน ขยะอุตสาหกรรม ออกมาทำลายคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เลวลงทุกวัน ถ้ามองถึงการบำบัดก็ยังไม่มี หรือมีบ้างเล็กน้อย จึงทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมนับวันจะเสื่อมเลวลงไปเรื่อย ๆ เกิดน้ำเน่าเสีย ในแม่น้ำลำคลอง อากาศในเมืองหลวงหรือเมืองอุตสาหกรรม เกิดอากาศเป็นพิษ ขยะล้นเมือง ประเทศไทยหรือคนไทย เริ่มมีจิตสำนึกกับปัญหานี้หรือยัง จะมี การรณรงค์ป้องกันการทำลายสภาพแวดล้อมหรือยัง
คนไทยรับรู้และยอมรับปัญหามลพิษมานานแล้ว รู้ว่ามีปัญหาทำลายสิ่งแวดล้อมจากภาคครัวเรือน ภาคโรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการ แต่พวกเราจะมีส่วนในการพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมกันหรือยัง หรือจะรับผิดชอบในฐานะผู้ก่อมลพิษได้อย่างไร สมมุติว่าถ้าจะมีหน่วยงานใดจะออกมารับผิดชอบ โดยออกกฏหมายจัดการเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษหรือมีมาตรการต่างๆมาใช้ป้องกันและบังคับการจัดเก็บภาษี เพื่อนำรายได้ไปบริหารจัดการให้มลพิษลดลง หรือส่งเสริมสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น พวกเราจะร่วมมือกันป้องกันปัญหาด้านมลพิษทางน้ำ ด้านมลพิษทางอากาศ หรือด้านมลพิษขยะจากภาชนะบรรจุภัณฑ์และอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่
กระผมทำงานที่กรมสรรพสามิต ซึ่งกรมสรรพสามิตมีวิสัยทัศน์ คือ เป็นองค์กรที่จัดเก็บภาษี เพื่อส่งเสริมเสถียรภาพทางการคลัง พัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อม และวิสัยทัศน์ด้านการจัดการองค์ความรู้ ว่า เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ เพื่อพัฒนานวัตกรรม การจัดเก็บภาษี สร้างคุณค่าสู่สังคมและ สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายในระยะเวลา 5 ปี ดังนั้น กระผมจึงขอมีส่วนร่วมและขอนำเสนอแนวความคิดการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม ในส่วนหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยนำเสนอใช้นวัตกรรม ด้านเทคโนโลยี ที่เรียกว่า ระบบมาตรวัดเบียร์ออนไลน์มาใช้ในการจัดเก็บภาษีด้านสิ่งแวดล้อมในอัตราภาษีตามรัฐบาลกำหนด และเงินภาษีที่ได้จากตัวเลขของมาตรวัดแสดง ก็สามารถจะนำไปใช้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ โดยอาจเสนอให้มีการปรับปรุงกฎหมาย และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการที่เหมาะสมมาใช้งาน เช่น ถ้าผู้ประกอบการรายใดมีกิจกรรมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่สามารถเห็นเป็นรูปธรรม มีเอกสารหลักฐานแสดงชัดเจน ภาครัฐควรจะมีมาตรการตอบแทนทั้งการชดเชยภาษี หรืองดเว้นการส่งเงินเข้ากองทุน และประกาศผลรางวัลผู้ประกอบการดีเด่นด้านอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม แต่ถ้าผู้ประกอบการใด ไม่รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือทำให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมหรือชุมชน ภาครัฐควรมีมาตรการจัดเก็บภาษี ในอัตรที่สูง ไม่ลดหย่อนภาษี หรือไม่ให้เงินอุดหนุนหรือเงินช่วยเหลือกิจการใดๆทั้งสิ้น หรืออาจจะต้องมีมาตรการลงโทษที่รุนแรง หรืออาจจะถึงขั้นปิดโรงงานก็ได้

หลักแนวความคิด ผู้เกี่ยวข้องกับภาษีสิ่งแวดล้อมมี 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มผู้ก่อปัญหา (มลพิษ) เป็นผู้รับผิดชอบภาษีสิ่งแวดล้อม เช่น เก็บภาษีสิ่งแวดล้อมจากผู้ใช้น้ำมัน หรือผู้ทำให้โลกร้อน ผู้ปล่อยน้ำเสียออกสู่แม่น้ำลำคลอง ผู้สร้างหรือปล่อมลพิษทางอากาศ ผู้ทิ้งขยะภาชนะบรรุภัณฑ์ต่าง ๆ หรือผู้ใช้และทิ้งมลพิษขยะอิเล็กทรอนิกส์
2. กลุ่มผู้ได้รับประโยชน์เป็นผู้รับผิดชอบภาษีสิ่งแวดล้อม เป็นองค์กรเอกชนหรืหน่วยงานภาครัฐ หรือภาคประชาชน โดยภาครัฐให้การสนับสนุนให้เกิดกิจกรรม ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น การใช้เงินภาษีอุดหนุนการปลูกป่า ค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์และระบบรับซื้อคืน การวางเงินประกันความเสี่ยงหรือความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม การซื้อขายสิทธิการใช้ทรัพยากรธรรมชาติหรือสิทธิการปล่อยมลพิษ และการให้เงินอุดหนุน และค่าธรรมเนียมการจัดการมลพิษหรือสิทธิพิเศษอื่นๆ เป็นต้น

วิธีการเบื้องต้น
ในปัจจุบันภาษีสรรพสามิต จัดเก็บภาษีจากสินค้าหลายประเภท เช่นภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ภาษีรถยนต์ ภาษีสุราและเบียร์ ภาษีบุหรี่ ภาษีสนามกอล์ฟ และอีกหลายอย่าง ซึ่งในอนาคตอาจต้องมีการปรับปรุงกฎหมายหรือเพิ่มเติมภาษีกับสินค้าที่ทำลายสิ่งแวดล้อม สำหรับกระผมขอนำเสนอแนวความคิดในการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมจากผู้ทิ้งขยะภาชนะบรรุภัณฑ์ต่างๆ จากขวดบรรจุภัณฑ์ กระป๋องบรรจุภัณท์ โดยจัดเก็บภาษีด้านสิ่งแวดล้อมจากผู้ผลิตในอัตราตามรัฐบาลกำหนด ตัวอย่างเช่น ภาชนะบรรจุเบียร์ขวดละ 1 บาท ถ้ามีการนำกลับมาใช้ใหม่ ก็ให้คืนค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์หรือจะใช้ระบบรับประกันการซื้อคืน หรือถ้าผู้ประกอบการรายใดมีกิจกรรมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่สามารถเห็นเป็นรูปธรรม มีเอกสารแสดงชัดเจน ภาครัฐควรจะมีมาตรการตอบแทนทั้งการชดเชยภาษีหรืองดเว้นการส่งเงินเข้ากองทุน และประกาศผลรางวัลผู้ประกอบการดีเด่นด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

วิธีการศึกษา
1) รวบรวมข้อมูลจากกรมสรพพสามิตเกี่ยวกับระบบมาตรวัดเบียร์ออนไลน์
2) เสนอผลการใช้งานของระบบมาตรวัดเบียร์ออนไลน์
3) เสนอแนะเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้กับการเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม

ผลการทดลองใช้ระบบและวิจารณ์
กรมสรรพสามิต ได้นำระบบมาตรวัดเบียร์ออนไลน์มาใช้ และเปลี่ยนแนววิธีการปฏิบัติใหม่ โดยใช้เครื่องมือวัดและควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์แทนการตรวจนับจำนวนด้วยคน ทำให้สามารถควบคุมการผลิตเบียร์ของโรงงานแต่ละแห่งได้ และตรวจสอบการจัดเก็บภาษีได้ทันสมัยและโปร่งใส
กรมสรรพสามิต จึงได้ประกาศใช้ระเบียบว่าด้วย การใช้เครื่องมือวัดปริมาณน้ำสุราเพื่อการเสียภาษีสุราแช่ พ.ศ.2545 และได้และเปลี่ยนแนววิธีการปฏิบัติใหม่โดยกรมสรรพสามิตอนุญาตให้ใช้เครื่องมือวัดและตัวเลขจากมาตรวัดเบียร์ออนไลน์แทนนับจำนวนด้วยคน เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2546 โดยผลการใช้งานระบบมาตรวัดเบียร์ จากสถิติการจัดเก็บภาษีเบียร์หลังการใช้ระบบมาตรวัดเบียร์ออนไลน์เพิ่มทุกปี โดยเพิ่มขึ้น และถ้านำตัวเลขจากระบบมาตรวัดเบียร์ มาประยุกต์ใช้จัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมจากภาชนะบรรุภัณฑ์ต่างๆ เช่น ขวดบรรจุเบียร์ กระป๋องบรรจุเบียร์ จะทำให้มีรายได้เป็นภาษีสิ่งแวดล้อม มาใช้บริหารจัดการได้ สมมุติว่า การจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมจากผู้ผลิตในอัตราตามรัฐบาลกำหนด เช่น บรรจุเบียร์ขวดละ 1 บาท ในปีพ.ศ 2552 จำนวนภาชะบรรจุ (ขวด/กระป๋อง) มีจำนวน 3,241,747,522 ขวด/กระป๋อง คิดเป็นค่าภาษีสิ่งแวดล้อมหรือค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์ เป็นเงิน 3,241,747,522 บาท และสามารถนำเงินจำนวนนี้ไปใช้ซื้อคืนภาชะบรรจุ (ขวด/กระป๋อง) หรือนำเงินบางส่วนไปบริหารจัดการส่งเสริมให้เกิดการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมโครงการอนุรักษ์ต่างๆ หรือภาครัฐมีมาตรการตอบแทนการชดเชยภาษี หรืองดเว้นการส่งเงินเข้ากองทุน และประกาศรางวัลผู้ประกอบการดีเด่นด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ตารางที่ 1 ข้อเสนอภาษีสิ่งแวดล้อมทีได้จากระบบมาตรวัดเบียร์ออนไลน์ (2546-2552)
ปี พค. เงินภาษี จำนวนภาชะบรรจุ ภาษีเพื่อสิ่งแวดล้อม
(ล้านบาท) (ขวด/กระป๋อง) (1บาท/ขวด)

2546 36,986.64 2,447,298,431 2,447,298,431
2547 42,748.62 2,828,551,894 2,828,551,894
2548 45,482.85 3,009,467,944 3,009,467,944
2549 44,210.02 2,925,248,483 2,925,248,483
2550 52,087.55 3,446,481,740 3,446,481,740
2551 53,465.46 3,537,654,038 3,537,654,038
2552 48,993.35 3,241,747,522 3,241,747,522

ข้อเสนอแนะ
ภาครัฐ ควรจะเริ่มการดำเนินการออกกฎหมาย เพื่อจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมจากผู้ก่อปัญหามลพิษด้านต่างๆ ทั้งผู้ก่อให้เกิดปัญหาน้ำเสีย หรือมลพิษทางอากาศ มลพิษจากขยะ โดยกฎหมายควรจะมุ่งรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วย ลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ไม่มุ่งเน้นด้านรายได้ ให้เกี่ยวข้องกับสุขภาพของคนทั้งประเทศ ดังนั้น ควรจะกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจัดเก็บค่าการปล่อยมลพิษแต่ละด้าน ตัวอย่างเกณฑ์ด้านมลพิษทางน้ำของโรงงานอุตสาหกรรมที่ปล่อยน้ำเสีย โดยปกติน้ำที่ปล่อยออกจากโรงงานต้องมีค่าไม่เกิน 20 มิลลิกรัม/ลิตร ถ้าเกินเกณฑ์ผู้ปรกอบการต้องเสียภาษีสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยน้ำเสียตามอัตราที่กฎหมายกำหนด ส่วนทางอากาศต้องมีเกณฑ์มาตรฐานการปล่อยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ และฝุ่นละออง และมลพิษจากขยะยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์และวิธการที่ชัดเจน จึงควรมีคณะทำงานร่วมกันยกร่างหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บภาษีขึ้นมาก่อน
ส่วนข้อกำหนดในกฎหมาย ควรจะมีคณะกรรมการกำกับนโยบายการ ที่มาจากภาครัฐ เอกชน และผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานและวิธการคืนหรือชดเชยที่ชัดเจนของปัญหามลพิษแต่ละประเภท ให้เป็นเครื่องมือในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมหรือมลพิษ และควรมีการตั้งกองทุนพร้อมคณะกรรมการบริหารกองทุน มีการแบ่งรายได้ให้กับองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นชัดเจน เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มีทรัพยากรอย่างเพียงพอในการจัดการกับปัญหามลพิษต่างๆ ตัวอย่างการแบ่งรายได้ เช่น รายได้จากภาษีแบ่งให้ท้องถิ่นประมาณ 70% และจัดเก็บเข้ากองทุน ประมาณ 25 % เพื่อลดมลพิษในสิ่งแวดล้อม จะแบ่งให้กรมสรรพสามิตซึ่งเป็นผู้จัดเก็บภาษีในสัดส่วน 5% ของรายได้จัดเก็บ ซึ่งจะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพการบริหารเงินกองทุน

สรุป
สรุปข้อเสนอแนะปรับปรุงกฎหมายเพื่อสิ่งแวดล้อม การใช้มาตรวัดด้านการภาษีอากรเพื่อส่งเสริมให้เกิดการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยอาจเสนอให้มีการปรับปรุงกฎหมาย ถ้าผู้ประกอบการรายใด มีกิจกรรมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่สามารถเห็นกิจกรรมเป็นรูปธรรม มีเอกสารหรือหลักฐานแสดงชัดเจน ภาครัฐควรจะมีการตอบแทน เช่น การชดเชยภาษี หรือการงดเว้นการส่งเงิน เข้ากองทุน และประกาศรางวัลผู้ประกอบการดีเด่นด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ถ้าบริษัทใด ไม่รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือทำให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมหรือชุมชน ภาครัฐควรมีมาตรการจัดเก็บภาษีในอัตรที่สูง ไม่ลดหย่อนภาษี หรือไม่ให้เงินอุดหนุนหรือเงินช่วยเหลือกิจการใดๆทั้งสิ้น และอาจต้องมีมาตรการลงโทษรุนแรงโดยอาจปิดโรงงาน

วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

แนวคิดการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมของกรมสรรพสามิตในบทบาทส่งเสริมสิ่งแวดล้อม

ภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องที่ทุกคนทั่วโลกและคนไทยให้ความสนใจ เนื่องจากปรากฏการณ์ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศของโลกรวมทั้งของประเทศไทยได้ด้วย ซึ่งผู้นำในหลายประเทศได้เริ่มที่จะร่วมมือกันในการป้องกันการทำลายสภาพแวดล้อมและภาวะโลกร้อน เพื่อที่จะหยุดกระบวนการที่เป็นเหตุแห่งการเกิดความหายนะมาสู่มวลมนุษยชาติ วันนี้คนไทยพร้อมที่จะเข้ามารับผิดชอบต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลกหรือยัง สำหรับเหตุเกิดของประเทศไทยคือทั้งในภาคครัวเรือน ภาคโรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการอื่น ๆ ได้ปล่อยน้ำเสีย อากาศเสีย หรือขยะในครัวเรือน ขยะอุตสาหกรรม ออกมาทำลายคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เลวลงทุกวัน ถ้ามองถึงการบำบัดก็ยังไม่มี หรือมีบ้างเล็กน้อย จึงทำให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมนับวันจะเสื่อมเลวลงไปเรื่อย ๆ เกิดน้ำเน่าเสียในแม่น้ำลำคลอง อากาศในเมืองหลวงหรือเมืองอุตสาหกรรม เกิดอากาศเป็นพิษ ขยะล้นเมือง ประเทศไทยหรือคนไทย เริ่มมีจิตสำนึกกับปัญหานี้หรือยัง จะมีการรณรงค์ป้องกันการทำลายสภาพแวดล้อมหรือยังคนไทยรับรู้และยอมรับปัญหามลพิษมานานแล้ว รู้ว่ามีปัญหาทำลายสิ่งแวดล้อมจากภาคครัวเรือน ภาคโรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการ แต่พวกเราจะมีส่วนในการพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อมกันหรือยัง หรือจะรับผิดชอบในฐานะผู้ก่อมลพิษได้อย่างไร สมมุติว่าถ้าจะมีหน่วยงานใดจะออกมารับผิดชอบ โดยออกกฏหมายจัดการเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษหรือมีมาตรการต่างๆมาใช้ป้องกันและบังคับการจัดเก็บภาษี เพื่อนำรายได้ไปบริหารจัดการให้มลพิษลดลง หรือส่งเสริมสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น พวกเราจะร่วมมือกันป้องกันปัญหาด้านมลพิษทางน้ำ ด้านมลพิษทางอากาศ หรือด้านมลพิษขยะจากภาชนะบรรจุภัณฑ์และอิเล็กทรอนิกส์หรือไม่

กระผมทำงานที่กรมสรรพสามิต ซึ่งกรมสรรพสามิตมีวิสัยทัศน์ คือ เป็นองค์กรที่จัดเก็บภาษี เพื่อส่งเสริมเสถียรภาพทางการคลัง พัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อม และวิสัยทัศน์ด้านการจัดการองค์ความรู้ ว่า เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ เพื่อพัฒนานวัตกรรม การจัดเก็บภาษี สร้างคุณค่าสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายในระยะเวลา 5 ปี ดังนั้น กระผมจึงขอมีส่วนร่วมและขอนำเสนอแนวความคิดการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม ในส่วนหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยนำเสนอใช้นวัตกรรม ด้านเทคโนโลยี ที่เรียกว่า ระบบมาตรวัดเบียร์ออนไลน์มาใช้ในการจัดเก็บภาษีด้านสิ่งแวดล้อมในอัตราภาษีตามรัฐบาลกำหนด และเงินภาษีที่ได้จากตัวเลขของมาตรวัดแสดง ก็สามารถจะนำไปใช้เพื่อส่งเสริมให้เกิดการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้ โดยอาจเสนอให้มีการปรับปรุงกฎหมาย และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการที่เหมาะสมมาใช้งาน เช่น ถ้าผู้ประกอบการรายใดมีกิจกรรมรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่สามารถเห็นเป็นรูปธรรม มีเอกสารหลักฐานแสดงชัดเจน ภาครัฐควรจะมีมาตรการตอบแทนทั้งการชดเชยภาษี หรืองดเว้นการส่งเงินเข้ากองทุน และประกาศผลรางวัลผู้ประกอบการดีเด่นด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ถ้าผู้ประกอบการใด ไม่รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือทำให้เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมหรือชุมชน ภาครัฐควรมีมาตรการจัดเก็บภาษีในอัตรที่สูง ไม่ลดหย่อนภาษี หรือไม่ให้เงินอุดหนุนหรือเงินช่วยเหลือกิจการใดๆทั้งสิ้น หรืออาจจะต้องมีมาตรการลงโทษที่รุนแรง หรืออาจจะถึงขั้นปิดโรงงานก็ได้